4.01.2009

คำถามที่พบบ่อย

ถาม: ทำไมวัสดุรองนอนที่ทำจากปอถึงแตกต่างจากวัสดุรองนอนที่ทำจากแกลบ ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด หรือไม้บดทั่วๆ ไป?
ตอบ: มีความแตกต่างดังต่อไปนี้
1.วัสดุรองนอนที่ทำจากปอ สามารถดูดซับความชื้นได้ถึง 600-750% ของน้ำหนักตัว เมื่อเทียบกับ ขี้เลื่อย หรือฟางแห้ง สามารถดูดซับความชื้นได้เพียง 250% ของน้ำหนักตัว
2.วัสดุรองนอนที่ทำจากปอ ดูดซับความชื้นดีและเร็ว ทำให้ไม่จับตัวเป็นก้อน ในบริเวณที่ม้าปัสสาวะ โดยการดูดซับความชื้นจากพื้นชั้นล่าง ทำให้ปัสสาวะของม้าซึมผ่านได้อย่างรวดเร็ว หมดปัญหาผิวหน้าด้านบนเปียกแฉะ
3.ด้วยคุณสมบัติดูดความชื้นได้ดีและระเหยได้ง่ายจึงทำให้วัสดุรองนอนที่ทำจากปอมีอายุการใช้งานนานถึง 2-3 อาทิตย์ หรือมากกว่านั้น เพียงกำจัดส่วนที่เป็นมูลม้าออก จากนั้นก็คลุกเคล้าส่วนที่เหลือเข้าด้วยกัน แค่นี้ก็สามารถใช้งานต่อได้แล้ว
4.ในปอมีแบคทีเรีย ที่ช่วยยับยั้งกลิ่นปัสสาวะของม้า อีกทั้งไม่เป็นอันตรายและไม่ส่งผลเสียใดๆ ต่อม้าอีกด้วย
5.โครงสร้างสำคัญในลำต้นปอก็คือเซลล์เล็กๆ จำนวนมาก เรียงตัวอยู่ข้างใน แกนปอจึงมีลักษณะยืดหยุ่น ทนทานต่อแรงเสียดสี กด และทับ อักทั้งยังก่อให้เกิดฝุ่นน้อย และยังให้ความรู้สึกนุ่มกว่าวัสดุรองนอนทั่วไป


ถาม: ทำไมต้องเลือกวัสดุรองนอนที่ทำจากปอ?
ตอบ: เพราะว่าปอมีคุณลักษณะพิเศษที่เหมาะกับม้า และไม่เหมือนกับวัสดุรองนอนทั่วไป เช่น
- มีฝุ่นน้อย
- มีอายุการใช้งานนานถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับวัสดุรองนอนทั่วไป
- ขจัดกลิ่นปัสสาวะของม้าได้ดีเยี่ยม
- อายุการใช้งานนาน ดูดซับความชื้นได้เยี่ยมและระเหยง่าย
- ทำความสะอาดง่าย

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างวัสดุรองนอนที่ทำจากปอและวัสดุรองนอนที่ทำจากแกลบ ขี้เลื่อยและฟาง ก็คือเวลาที่ม้าปัสสาวะ สำหรับวัสดุรองนอนที่ทำจากปอ เมื่อม้าปัสสาวะ ปอก็จะดูดซับความชื้นจากชั้นบนลงสู่ชั้นล่างได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ปัสสาวะไม้แผ่วงกว้างและยังแห้งเร็ว เพิ่มความนุ่มสบายให้กับม้า อีกทั้งยังช่วยในการขจัดกลิ่นปัสสาวะอีกด้วย
สำหรับแกลบ ขี้เลื่อย หรือฟาง เมื่อยามที่ม้าปัสสาวะ จะเริ่มจับตัวเป็นก้อนส่งผลให้การซึบซับไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ปัสสาวะแผ่เป็นวงกว้าง แห้งช้า ต้องใช้ขี้เลื่อยในปริมาณที่มาก กว่าที่จะทำให้ปัสสาวะแห้งในแต่ละที ส่วนแกลบหรือฟางเมื่อยามที่ม้าปัสสาวะ การดูดซับไม่ดีทำให้น้ำปัสสาวะเกลื่อนกลาดเป็นบริเวณกว้าง ไม่ขจัดกลิ่น อีกทั้งต้องเสียเวลาเปลี่ยนบ่อย

ถาม: เป็นไปได้ไหมที่ม้าจะกินวัสดุรองนอนที่ทำจากปอ?
ตอบ: เป็นไปได้ แต่เป็นไปได้น้อย เพราะโดยธรรมชาติแล้วม้ามีนิสัยอยากรู้อยากเห็น ยิ่งเมื่อม้าเจอสิ่งแปลกใหม่แล้วเนี่ยเขาจะชอบใช้ปากแทะเล็มสิ่งที่อยู่ตรงหน้า อาจมีบ้างที่เผลอกินเข้าไป หรืออาจจะกินเข้าไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น

ถาม: จะเป็นอันตรายกับม้ามั้ย เมื่อม้ากินเข้าไป?
ตอบ: ไม่เป็นอันตรายต่อม้าแต่อย่างใดเพราะลักษณะของปอก็เหมือนหญ้าแห้งซึ่งมาจากธรรมชาติและไม่มีสารเคมีใดๆ เจือปน

ถาม: ถ้าเกิดว่าม้ากินเข้าไปเยอะจะส่งผลอย่างไรต่อม้า?
ตอบ: สำหรับม้าที่กินเข้าไปในปริมาณที่เยอะมากๆ อาจจะมีอาการท้องเสียบ้างเล็กน้อย แต่ถ้าชิมนิดๆ หน่อยๆ จะไม่มีผลอะไร แต่วิธีที่ป้องกันม้ากินวัสดุรองนอนที่ดีที่สุดก็คือ ต้องให้อาหารและน้ำอย่างเพียงพอและตรงต่อเวลา อย่าปล่อยให้ม้าหิว อีกวิธีหนึ่งคือลองฉีดด้วย น้ำผสมพริกไทย ฉีดตามความเหมาะสม เพราะถ้าเกิดม้าได้กลิ่น จะทำให้ม้าไม่อยากกินวัสดุรองนอน

ถาม: ต้องใช้จำนวนวัสดุรองนอนมากแค่ไหนถึงจะพอสำหรับ 1 คอก?
ตอบ: ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องขึ้นอยู่กับขนาดของคอกและลักษณะของคอก โดยปกติแล้วถ้าคอก มีขนาด 3.6x3.6 เมตร จะต้องใช้วัสดุรองนอนประมาณ 10-15 กระสอบ(15kg/กระสอบ) พื้นและระยะเวลาที่ม้าอยู่ในคอกในแต่ละวันก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มหรือลดปริมาณของวัสดุรองนอน
ม้าบางตัวจะต้องการวัสดุรองนอนมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะม้าที่ดื่มน้ำเยอะ และบ่อย ซึ่งเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าอัตราการปัสสาวะก็จะเพิ่มขึ้นด้วย เขาจึงต้องการ(วัสดุรองนอนที่มีประสิทธิภาพใน)การดูดซับปัสสาวะและกลิ่นมากเป็นพิเศษ

ถาม: จะรู้ได้อย่างไรว่าจะต้องเปลี่ยนวัสดุรองนอนออก?
ตอบ: วิธีสังเกตุง่ายๆ ก็คือปอจะเริ่มเปลี่ยนสี ลูกค้าบางรายจะเติมปอเข้าไปในคอกอาทิตย์ละครึ่งกระสอบ โดยไม่ได้เอาออกซะทั้งหมดทั้งนี้เพื่อทดแทนปอส่วนที่เสียไปกับการทำความสะอาดและบางส่วนติดมาพร้อมกับอุจจาระของม้า ทำให้ต้องเติมไปทีละนิดๆ
วิธีการดูแลรักษาให้วัสดุรองนอนมีอายุการใช้งานได้นาน ก็คือ พยายามอย่าให้อุจจาระของม้าติดค้างอยู่ในคอกเป็นเวลานาน เพราะ เมื่อยามที่อุจจาระแห้งแล้วเนี่ย ยากที่จะกำจัดออก และยังส่งกลิ่นเพิ่มมากขึ้น

ถาม: ปอไม่มีฝุ่นจริงหรือ?
ตอบ: วัสดุรองนอนที่ทำจากปอ มีฝุ่นน้อย (ไม่ใช่ ไม่มี) เมื่อเทียบกับวัสดุรองนอนทั่วๆ ไป

No comments:

Post a Comment

Engage Crop

Engage Crop
Kenaf Stem in Thailand